การขยาพันธ์ "ตุ๊กแกบ้าน"
ความแตกต่างระหว่าง ตุ๊กแกบ้าน เพศผู้ และเพศเมีย
ตุ๊กแกบ้านตัวผู้ ตัวเต็มวัย (ภาพบน)
ตุ๊กแกบ้านตัวผู้ที่ยังเป็นวัยอ่อน (ภาพล่าง)
2. ตุ๊กแกบ้านเพศเมีย จะมีความยาวจากปลายปากถึงก้น 97.0-151.3 มิลลิเมตร
1. ตุ๊กแกบ้านเพศผู้จะมีต่อมหน้าทวารร่วมเจริญชัดเจน แต่ละตุ่มจะเรียงต่อเป็นแถวเหนือรูก้น และมีจำนวน 10-24 ตุ่มขึ้นอยู่กับแต่ละตัว
2. ตุ๊กแกบ้านเพศเพศเมียตุ่มนี้จะไม่เจริญ
3. ตุ๊กแกบ้านที่ยังไม่โตเต็มวัยจะต่างจากตัวโตเต็มวัยคือ ขนาดความยาวจากปลายปากถึงก้นประมาณ 63.2-95.0 มิลลิเมตร หางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว
การขยายพันธ์
ตุ๊กแกบ้าน ผสมพันธุ์ด้วยการปฏิสนธิภายในร่างกาย โดยการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวจากตัวผู้ ก็ทำให้ตัวเมียสามารถ ออกไข่ครั้งละ 2-24 ฟอง และสามารถวางไข่ได้หลายครั้งในรอบปี โดยการวางไข่ติดกับพื้นผิวผนังไว้แน่นในบริเวณที่มันคิดว่าปลอดภัยที่สุด ไข่มีสีขาวคล้ายไข่เป็ด
ในช่วงฤดูผสมพันธ์ซึ่งมีระยะเวลา 4-5 เดือน ตุ๊กแกบ้านเพศผู้จะส่งเสียงร้อง .ตุ๊ก-แก. ซ้ำๆ เพื่อดึงดูด เพศเมีย เพศผู้จะเข้าหาเพศเมียกัดยึดเพศเมียบริเวณลำคอในขณะผสมพันธ์ หลังผสมพันธ์แล้วเพศเมียจะหาที่วางไข่ โดยจะวางไข่ทุกๆ เดือน ไข่จะมีเปลือกหนา รูปร่างรีไข่ครั้งละ 1-2 ฟองโดยตัวเมียหลายตัวอาจจะมาไข่รวมในที่ใกล้ๆ กัน ทั้งพ่อและแม่จะช่วยกันดูแลไข่ ไข่จะติดแน่นกับฝาผนัง และจะฟักออกจากไข่ในระยะเวลา 60-200 วัน ในเวลาประมาณ 1 ปี ลูกตุ๊กแกจะโตเต็มวัย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น